บทความทางวิชาการ

ศิลปบำบัด กับ เด็กพิการทางสมอง
(แปลและเรียบเรียงจาก ART THERAPY for the MENTALLY RETARDED)
เมื่่อเราเริ่มใช้ศิลปบำบัด (ART THERAPY) กับเด็กปัญญาพิการ เด็กจะแปลกใจทันทีว่าเขาทำไ้ด้ง่ายๆ ผิดกับที่เขาเคยมีประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ซึ่่งเคยต้องนั่งนิ่งๆ ต้องพูดโต้ตอบ ต้องต่อรูป (puzzle) บล็อค แต่กับครูศิลปบำบัด (ART THERAPIST) เขาเพียงถูกกะเกณฑ์ให้วาดรูป ขีดๆ เขียนๆ ปั้นดินน้ำมัน ระบายสีหรือละเลงสี ต่อชิ้นส่วนง่ายๆ หรือใช้ชอล์คขีดเขียนเท่านั้นเอง ไม่เห็นมีใครเรียกร้องอะไรจากเขามากมาย แล้วแขาก็ไม่ต้องหวาดหวั่นว่าตัวเขาจะทำอะไรไม่สำเร็จ งานศิลปะึจึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะจะใช้กับพวกปัญญาพิการอย่างแน่นอน เพราะเป็นกิจกรรมที่ให้แต่ความบันเทิงไม่ต้องมีการเสียขวัญ แต่ที่จริงแล้วกระบวนการของศิลปบำบัดมิไ้ด้หมายแต่จะให้ความพอใจเพียงอย่างเดียว
ผู้ที่คิดค้นวิชาศิลปบำบัดขึ้นมาใช้ มีวัตถุประสงค์จะให้เป็นเครื่องมือค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกัยตัวเด็กให้ได้มากที่สุด โดยไม่ต้องใช้วิธีการอันเป็นแบบฉบับมาตั้งแต่ดั้งเดิม คือ การสาธยายความรู้สึกกับผู้บำบัดเพียงอย่างเดียว แม้การพูดคุยจะเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ศิลปบำบัด แต่ก็ำไม่ใช้ส่วนสำัคัญจุดมุ่บหมายอีกประการหนึ่งก็คือผู้บำบัดจะใช้สื่อ (MEDIA) ในลักษณะต่างๆ เป็นเครื่องมือช่วยให้เด็กแสดงความรู้สึกออกมาได้
เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ครูศิลปบำบัดจึงอาศัยสมมติฐานจากภาพที่เด็กวาดเป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็น "จิต" โดยที่เด็กจะรู้สำนึกหรือไม่รู้สำนึกก็ตาม

จิตตปัญญาศึกษา : การพัฒนาเด็กของศูนย์การเรียนพิเศษประภาคารปัญญา
แนวคิดจิตตปัญญาศึกษากับการพัฒนาเด็กศูนย์การเรียนรู้พิเศษประภาคารปัญญา

บทเริ่มต้น

คุณสุรทัศน์ บุนนาค กล่าวรายงานถึงความเป็นมาในการจัดบรรยายพิเศษ “แนวทางการจัดการศึกษาระบบวอร์ดอร์ฟ”
เมื่อวันที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ทรงฟังบรรยายเรื่อง “การจัดการศึกษา แนวมนุษยปรัชญา” (Curative Education) คณะวิทยากรของโรงเรียนวอลดอร์ฟ โดย ดร.อินกริด และ ครูเวสลี่ มีผู้เข้าร่วมฟังหลายท่าน อาทิ คณะกรรมการบริหารและครูของศูนย์ฯ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ
ผู้ร่วมฟังบรรยายในครั้งนั้นและยังเป็นผู้ยึดแนวการจัดการศึกษาแนวมนุษยปรัชญาไปยังระบบการศึกษาคืออาจารย์อภิสิรี จรัลชวนะเพท (ครูอุ้ย) ได้สืบสานแนวคิด การจัดการศึกษาแนวมนุษยปรัชญาไปยังระบบการศึกษาและชุมชน ปัจจุบันท่านก็เป็นผู้มีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับจิตตปัญญาศึกษาในประเทศไทย
บทเรียนใหม่
หลังจากที่ได้ฟังแนวคิดการจัดการศึกษาแนวมนุษยปรัชญาแล้ว ผู้ร่วมฟังบรรยายก็ได้แบ่งกันไปทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด ยูริชมี (ซึ่งผุ้เขียนเองมีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติในเบื้องต้น จากแนวคิดดังกล่าว คุณหญิงโสภร วงศ์สวรรค์ และอาจารย์เพียงกาญจน์ สุวรรณปัทม ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ Camphill Specail School ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาแนวคิดการจัดการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ จึงเกิดขึ้นที่ศูนย์การเรียนรู้ประภาคารปัญญา ซึ่งกิจกรรมการเรียนการสอน และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ที่จัดให้กับเด็กจึงเน้นที่การพัฒนาด้านในของเด็ก (จิตวิญญาณ) ควบคู่กับการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและ ตระหนักรู้คุณค่าของตนเอง เห็นคุณค่าของสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัว
บทเรียนแห่งชีวิต
ด้วยเหตุที่ว่าศูนย์การเรียนรู้พิเศษประภาคารปัญญาเป็นหน่วยที่ให้บริการฝึกอบรมเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงเป็นงานหนักที่ครูผู้สอนต้องคิดค้นหาแนวทางเพื่อนำมาพัฒนาให้เด็กเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเอง และดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและมีคุณค่า ในขณะเดียวกันครูก็ต้องเป็นผู้มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ให้ การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการเห็นคุณค่าและความงามของธรรมชาติรวมถึงความงดงามในตัวแด็กด้วย
จากปัญหาสู่ปัญญา
กระบวนการจัดการศึกษาที่เป็นไปตามระบบโดยผ่านการฝึกด้วยกิจกรรมประกอบกับเทคนิควิธีการสอนที่ครูทุกคนได้นำมาปฏิบัติก็ไม่สามารถคลี่คลายปัญหาบางอย่างได้ หรือถ้าได้ก็ไม่ยั่งยืนหรือบางครั้งก็เกิดปัญหาต่อเนื่อง จากการเฝ้ามองปัญหาต่างๆ ก็ได้บทสรุปในใจว่าเป็นเพราะทุกคนไม่ได้อยู่กับตัวเอง (สติ) ทั้งตัวครูและเด็ก จึงคิดที่จะร้อยเรียงกิจกรรมตอนเช้าก่อนเข้าเรียนให้ทุกคนได้เตรียมตัวเตรียมใจ อยู่กับตัวเองให้มาก คิดอย่างใคร่ครวญ ฝึกสมาธิ รับรู้ภายนอกอย่างมีสติมีเมตตาต่อกันโดยฝึกผ่านขั้นตอนและกระบวนการดังนี้
กิจกรรมปฏิบัติทุกเช้า (1 ชั่วโมงก่อนเข้าเรียน)

เข้าแถวเคารพธงชาติ

สวดมนต์

แผ่เมตตา

บริหารให้สุขภาพดี
เต้นแอโรบิก